วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Official MV ของขวัญ-Musketeers by Eyedropper Fill

เครื่องจับยุงนาโน

เครื่องจับยุงนาโนไร้กลิ่นไร้คราบ 

               ยุง เป็นพาหนะนำเชื้อไข้เลือดออก ในแต่ละปีเด็กไทยโดนคร่าชีวิตจากยุงเป็นจำนวนมาก และในปัจจุบันมีการประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากยุง เช่น  ยากันยุง สเปรย์กำจัดยุง เครื่องไล่ยุงไฟฟ้า เสื้อกันยุงสมุนไพร  ล่าสุดนักประดิษฐ์ไทยประยุกต์ใช้ความรู้ของศูนย์นาโนเทค ออกแบบเครื่องจับยุงรุ่นปลอดเชื้อโรค ส่งคลื่นความร้อนล่อยุงเข้ากับดัก ขังไว้จนตายเองใน 2-5 ชั่วโมง เผยไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีคราบเลือด

   
       เครื่องจับยุงนี้ภายในทั้ง 4 ด้านเคลือบด้วย "สารไททาเนียมไดออกไซด์" ซึ่งทำหน้าที่สะท้อนความร้อนของหลอดไฟ ทำให้เกิดอุณหภูมิที่เหมาะในการล่อแมลงหรือยุง แมลงหรือยุงที่เข้ามาในเครื่องจะถูกอบแห้งตายภายใน 2-5 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับขนาดของแมลง-ยุง จึงไม่มีกลิ่นเหม็นไหม้และคราบเลือด ในเครื่องจับยุง สารไททาเนียมไดออกไซด์ ช่วยฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากกระบวนการดักจับและอบแห้งจนยุงตาย อย่างไรก็ตาม เครื่องนี้ใช้ได้กับยุงตัวเมียเท่านั้น  โดยลดจำนวนยุงได้อย่างเห็นผลใน 3 เดือน
             นวัตกรรมเครื่องจับยุงชนิดนี้ เชื่อว่าสามารถนำไปใช้ได้จริง และไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ของเขาดีจริงๆ ค่ะ
    

        ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

เครื่องกรีดยางไฟฟ้า

เครื่องกรีดยางพาราไฟฟ้า” จากบ้านถึงผลงานสร้างสรรค์ 


      
            นี่เป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกรสวนยางทุกท่าน วันนี้ทุกคนอาจจะไม่ต้องเหนื่อยกับการกรีดยางตั้งแต่รุ่งสางอีกแล้ว เพราะดิฉันมีนวัตกรรมใหม่มาเสนอให้ทุกคนได้รับทราบข้อมูลใหม่ๆ ต่อไปนี้เกษตรกรสวนยางอาจไม่ต้องเหนื่อยอีกต่อไป เพราะเรามี เครื่องกรีดยางพาราไฟฟ้า ต่อไปนี้เกษตรกรสวนยางอาจไม่ต้องเหนื่อยอีกต่อไป


           นายปรัชญกร เฉลิมพงศ์  นักเรียนทุน โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP)ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได ประดิษฐ์“เครื่องกรีดยางพาราไฟฟ้า” ผลงานที่ใช้ได้จริง จากการสังเกตสิ่งรอบตัวมาสร้างเครื่องใช้ไม้สอย กรีดยางได้ 10 ไร่ต่อชั่วโมง ประหยัดทั้งเวลา แรงงาน และยืดอายุต้นยาง ด้วยเงินลงทุนเพียง 3,000 บาท เตรียมพัฒนาต่อให้ได้น้ำยางมากขึ้น
       
                    
       กลไกการทำงาน  ประกอบด้วย ชุดมอเตอร์พร้อมแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ และใช้หลักการเคลื่อนที่ในแนวโน้มถ่วงเพื่อสร้างเครื่องกรีดน้ำยางไฟฟ้าขึ้น มา ไม่มีหลักการอะไรที่ซับซ้อนมาก โดยมันจะทำงานได้นานประมาณ 6 ชั่วโมงต่อแบตเตอรี่ 1 ก้อน
      
       สำหรับผลการนำเครื่องกรีดน้ำยางพาราไฟฟ้าไปใช้งานจริง พบว่า สามารถ กรีดน้ำยางจากต้นยางได้เฉลี่ย 700 ต้น/ชม. หรือประมาณ 10 ไร่/ชม. เปรียบเทียบกับใช้แรงงานคน ซึ่งกรีดได้เพียง 200-300 ต้น/ชม. ตามความชำนาญ ทำให้เมื่อนำไปทดลองใช้กับต้นยางของเพื่อนบ้านแล้วก็ได้รับเสียงตอบรับอย่างดี       
       เครื่องกรีดยางพาราไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ตามแนวกรีดที่เราต้องการและกลับไปยังจุดเริ่มต้นได้อย่างดีในเวลาต้นละ 5-7 วินาที จากปกติที่ใช้แรงงานคนกรีดต้นละ 5-10 นาที เมื่อเทียบกันแล้ว เครื่องกรีดยางพาราไฟฟ้าจึงทำงานได้รวดเร็วและประหยัดแรงงานกว่า นอกจากนี้  ยัง เป็นการยืดอายุต้นยางไปในตัว เพราะการกรีดยางอย่างรวดเร็ว กรีดหน้ายางได้สม่ำเสมอ ขจัดปัญหาด้านความชำนาญของผู้กรีดยางให้หมดไป และไม่ทำให้หน้ายางเสีย จึงได้น้ำยางมาก
       

       จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของเครื่องกรีดยางพาราไฟฟ้าคือ สามารถติดตั้งใช้กับต้นยางได้สะดวก ด้วยการตอกตะปู 2 ตัวไว้ที่ต้นยาง เว้นระยะห่างในแนวดิ่งประมาณ ¾ ฟุต เพื่อติดตั้งเครื่องกรีดน้ำยาง.            

หุ่นยนต์เก็บสตอร์เบอร์รี่

นัก วิจัยชาวญี่ปุ่นได้ทำการพัฒนาหุ่นยนต์หรืออุปกรณ์อัตโนมัติในการช่วยงานเก็บ ผลสตอร์เบอร์รี่ในไร่ โดยหุ่นยนต์มีความสามารถในการเลือกคัดเก็บเฉพาะผลสตอร์เบอร์รี่ที่สุกแล้ว เท่านั้น

ผลงานการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บผลสตอร์เบอร์รี่เป็นผลงานของสถาบันวิจัย IAM-BRAIN (Institute of Agricultural Machinery’s Bio-oriented Technology Research Advancement Institution) เป็นสถาบันที่มีงานวิจัย คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานภาคการเกษตรเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมการเกษตร
 


หุ่น ยนต์เก็บผลสตอร์เบอร์รี่จะสามารถช่วยงานเก็บเกี่ยวในไร่สตอร์เบอร์รี่ได้ มากกว่า 60 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ไร่ การทำงานของหุ่นยนต์จะมีส่วนในการวิเคราะห์ว่าผลสตอร์เบอร์รี่สุกหรือไม่โดย จะพิจารณาจากสีของผล ซึ่งผลที่มี่สีแดงกว่า 80 เปอร์เซนต์ของทั้งลูกจะถือว่าเป็นผลสตอร์เบอร์รี่ที่สุกพอดีและเหมาะกับการ เก็บเกี่ยว

แม้ ว่าการทำงานของหุ่นยนต์จะใช้เวลากว่า 9 นาทีในการวิเคราะห์ความสุกของผลสตอร์เบอร์รี่ กำหนดตำแหน่งในการเก็บเกี่ยวของผลสตอร์เบอร์รี่หนึ่งผล แต่หุ่นยนต์ก็สามารถใช้เวลาโดยรวมในการทำงานเป็นอัตราเกีบเกี่ยว 300-500 ชั่วโมงต่อพื้นที่เก็บเกี่ยว 1,000 ตารางเมตร มากไปกว่านั้นหุ่นยนต์ยังสามารถทำงานเก็บเกี่ยวผลสตอร์เบอร์รี่ได้ในเวลากลางคืน อีกด้วย

การ ทำงานของหุ่นยนต์เก็บผลสตอร์เบอร์รี่จะมีระบบกล้องที่ทำการเก็บภาพ สตอร์เบอร์รี่ในลักษณะ 3 มิติ โปรแกรมที่ถูกเขียนในตัวหุ่นยนต์จะทำการวิเคราะห์ภาพที่เก็บได้ด้วยหลักการ ประมวลผลภาพ หรือ Image Processing เพื่อ วิเคราะห์หาว่าผลสตอร์เบอร์รี่นั้นสุกพอดีตามที่ต้องการหรือไม่ ถ้าสุกโดยที่ผลมีสีแดงมากกว่า 80 เปอร์เซนต์ เครื่องก็จะทำการตัดที่ก้านแล้วเก็บผลสตอร์เบอร์รี่ไว้ในถัง

ใน ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงการทดลองการทำงาน ซึ่งได้มีการนำเอาหุ่นยนต์ไปทดลองทำงานในไร่จริง และเก็บข้อมูลผลการทำงานไปเรื่อยๆเพื่อนำมาปรับปรุงระบบ โดยวางแผนที่จะทดลองเสร็จภายในปลายปีนี้

ทาง สถาบันมีแผนที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ในเชิงพาณิชย์ที่สามารถช่วยเก็บเกี่ยวผลผลิต ชนิดอื่นเช่น ผลมะเขือเทศ และยังมีแผนต่อยอดที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเก็บเกียวพืชผลที่จะไม่ เปลี่ยนสีเมื่อสุก ซึ่งการพัฒนาในส่วนนี้ถือว่ามีความท้าทายและต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาช่วย ในการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับการทำงานของหลักการประมวลผลภาพ

อย่าง ไรก็ดี หุ่นยนต์เก็บผลสตอร์เบอร์รี่ตัวนี้ได้รับรางวัลประจำปีในการพัฒนาหุ่นยนต์ ของประเทศญี่ปุ่น ที่จัดขึ้นโดย หน่วยงานที่ดูแลทางด้านการพาณิชย์ อุตสาหกรรม การค้าของประเทศญี่ปุ่น (METI) เป็นที่เรียบร้อย

ที่มา
http://news.cnet.com/8301-17938_105-20025402-1.html#ixzz180FBx0oO
http://news.cnet.com/8301-17938_105-20025402-1.html

โดย
ธนัช

222864

โครงการSARTRE

เทคโนโลยีการขับขี่รถบนท้องถนน โครงการSARTRE

โครงการ SARTRE ที่ย่อมากจาก Safe Road Trains for the Environment เป็น โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศแถบยุโรปเพื่อจุดประสงค์ในการช่วยลด ปัญหาการจราจร อุบัติเหตุ และช่วยลดความเครียดของผู้ขับในการขับขี่รถยนต์เมื่อเจอกับภาพการจราจรที่ แย่บนท้องถนน ที่สำคัญการนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้งานจะช่วยให้การจราจรมีประสิทธิภาพและมี การจัดการได้ง่ายมากขึ้น
ราย ละเอียดของโครงการเป็นการพัฒนาระบบเชื่อมต่อไร้สายบนถนนที่มีการส่งผ่าน ข้อมูลของรถแต่ละคัน ซึ่งจะมีรถคันแรกเป็นเหมือนหัวขบวนรถไฟ และรถที่ต่อแถวบนเส้นทางนั้นก็เปรียบเหมือนโบกี๊รถไฟ รถแต่ละคันที่เข้ามาวิ่งในระบบกึ่งอัตโนมัติหรือที่เรียกว่า platoon จะถูกควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์


ระบบ คอมพิวเตอร์จะเข้าควบคุมการทำงานของพวงมาลัย เกียร์ เบรคและคันเร่งโดยอาศัยข้อมูลที่ถูกตั้งค่าไว้ในตอนแรก และเพิ่มเติมด้วยข้อมูลที่ส่งมาจากรถหัวแถวซึ่งจะถูกขับด้วยผู้เชี่ยวชาญ เส้นทางไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ รถบรรทุกหรือรถโดยสารประจำทาง
โครงการ นี้ถือเป็นโครงการที่ใช้เวลาพัฒนามาแล้วสามปี โดยมีจุดประสงค์ที่จะช่วยปรับปรุงลักษณะการจราจรบนท้องถนนดีขึ้น ใช้เวลาในการเดินทางสั้นลง ลดการใช้พลังงานน้ำมัน และยังช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถผ่อนคลายได้ระหว่างการเดินทาง ซึ่งในส่วนนี้จะมีส่วนช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย
เจ้าของรถสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมหรือออกนอกระบบ platoon ได้เสมอ ในระหว่างที่รถอยู่ใน platoon ผู้ ขับสามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ไม่ว่าจะเป็นอ่านหนังสือ ดูทีวี โทรศัพท์หรือเล่นคอมพิวเตอร์ เนื่องจากไม่ต้องขับรถเอง รถจะขับได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์และจะถูกนำทางด้วยรถหัวขบวน เส้นทางและความเร็วของรถจะถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ตอนแรก โดยรถแต่ละคันจะต้องมีการทำงานร่วมกันของทั้งโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ที่รถและ ระบบดูแล พร้อมทั้งตัวอุปกรณ์รับส่งข้อมูล และตัวเซนเซอร์ที่ติดไว้ที่รถทุกคันที่ต้องการร่วมขบวน หรือเดินทางไปในเส้นทางเดียวกัน ซึ่งในตอนนี้การพัฒนาของโครงการยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองการทำงานรวมกันของ อุปกรณ์ต่างๆหรือฮาร์ดแวร์กับตัวโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของระบบใน รถสองคันที่ใช้งานใน platoon
การ ทดลองจะมีการเก็บข้อมูลการทำงานของรถคันที่นำขบวนและรถคันที่ขับตามด้วยระบบ คอมพิวเตอร์ว่าสามารถมีจุดบกพร่องอย่างไร และมีวิธีการรับมือกับสถาณการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นบนท้องถนนได้เช่นไร
ภาย ในปี 2011 หรือ 2012 ทางทีมงานของโครงการมีแผนที่จะทดลองและสาธิตการทำงานของระบบด้วยรถทั้งหมด 5 คัน เหมือนเป็นจุดที่เสร็จสมบูรณ์ของการพัฒนา โดยโครงการนี้ได้รับเงินสนับสนุนจาก European Commission และเป็นโครงการร่วมมือในการพัฒนาของ 7 บริษัทชั้นนำไม่ว่าจะเป็น Ricardo UK Ltd, วอลโว่ ใน สวีเดน, Robotiker-Tecnalia ในสเปน เป็นต้น

ที่มา
http://www.sartre-project.eu/en/Sidor/default.aspx
http://www.physorg.com/news/2010-12-sartre-car-platoon-road-video.html

โดย
ธนัช

ไอ้หนุ่มไวไฟ

"ไอ้หนุ่มไวไฟ" คว้าเทคโนโลยีดีเด่น นวัตกรรมการเกษตรนวด-เกี่ยวในตัว

                 ผู้ ผลิตเครื่องจักรกลเกษตรเอกชนส่งเครื่องนวดเกี่ยวข้าวเกษตร รุ่น "ไอ้หนุ่มไวไฟ" คว้ารางวัลชนะเลิศเทคโนโลยียอดเยี่ยมด้านเครื่องจักรกลทางการเกษตร จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมนำทัพเครื่องจักรกลเพื่อการผลิต สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
               สม ชัย หยกอุบล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เครื่องจักรกลเกษตรไทย จำกัด กล่าวถึงความสำเร็จครั้งนี้ว่า เป็นผลสืบเนื่องจากการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการนวดข้าว และเกี่ยวข้าวที่บริษัทศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอด 18 ปี จนเกิดความคิดที่จะรวมเครื่องจักรทั้งสองประเภทไว้ในตัวเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
               "เครื่อง นวดเกี่ยวข้าวที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยว ซึ่งหากเกี่ยวข้าวไม่ทัน ข้าวจะล้ม และไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้อีก เครื่องดังกล่าวสามารถใช้แทนแรงงานคนได้ ถึง 50 คน และเก็บเกี่ยวได้เต็มที่วันละ 50 ไร่" นายสมชัย กล่าว
               ผล งานการพัฒนาเครื่องนวดเกี่ยวข้าวนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศเทคโนโลยียอดเยี่ยม เครื่องจักรกลทางการเกษตรจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดต้นทุน และช่วยสร้างความสามารถด้านการแข่งขันในตลาดโลก
               นาย ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การเสนอรางวัลให้กับบริษัทที่มีเทคโนโลยียอดเยี่ยมในด้านต่างๆ ประกอบด้วย เครื่องจักรกลทางการเกษตร เครื่องจักรกลทางการผลิต และเครื่องจักรกลเพื่อสิ่งแวดล้อม และพลังงาน เป็นการกระตุ้นให้เอกชนไทยมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ตลอดจนสามารถพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่มีเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ
               ผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดในแต่ละสาขาจะถูกนำไปจัดแสดงในตลาดนัดเทคโนโลยีในวันเทคโนโลยีของไทยระหว่างวันที่ 20-22 ตุลาคม 2549 ที่ศูนย์ประชุม และแสดงสินค้าไบเทค บางนา
               แม้ เครื่องจักรรุ่นนี้ออกแบบมาให้กับนาข้าวเป็นหลัก แต่บริษัทมีแผนพัฒนาเทคโนโลยีให้เครื่องนวดเกี่ยวข้าวสามารถประยุกต์เก็บ เกี่ยวข้าวโพดได้ด้วย
               "เครื่องจักรตัวนี้ ยังสามารถดัดแปลงให้ใช้กับไร่ข้าวโพดได้ และถ้าพัฒนาให้เครื่องยนต์ทำงานย่อยลำต้นให้ละเอียดขึ้น สามารถใช้เป็นปุ๋ยส่งกลับคืนให้กับพื้นนาพร้อมสำหรับปลูกข้าวใหม่ได้ทันที โดยไม่ต้องเผาฟางซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และไม่ต้องเสียเวลาหมักฟางเป็นปุ๋ยอีก 15 วัน" สมชัยกล่าว
               นอกจากนี้ เครื่องจักรดังกล่าวยังลดการสูญเสียในกระบวนการเก็บเกี่ยวให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 3 ขณะที่การเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคนเกิดการสูญเสียผลผลิตถึงร้อยละ 7-8
               ใน ปัจจุบันเครื่องนวดเกี่ยวข้าวดังกล่าวได้พัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อ จำหน่ายให้กับบริษัทรับจ้างเกี่ยวข้าวในประเทศซึ่งมีความต้องการสูงถึง 700 คันต่อปี และเริ่มส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงอาทิ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และกัมพูชา
 
ที่มา   www.bangkokbiznews.com
 

รถเก้าอี้ล้อเข็นไฟฟ้า

นักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีของรถเก้าอี้ล้อเข็นไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้ดีขึ้น




224732



ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยทางด้านวิศวกรรมอย่างสถาบัน Florida A&M University รัฐ ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยถึงการพัฒนาเทคโนโลยีของรถเก้าอี้ล้อเข็นไฟฟ้า ให้สามารถใช้งานได้ปลอดภัยในทุกสภาพพื้นผิวไม่ว่าจะเป็นพื้นผิวที่ลื่น เปียก มีดินโคลน เฉอะแฉะ ขรุขระ หรือทางที่เป็นเนินไม่ราบเรียบ ซึ่งพื้นผิวทางเดินลักษณะแบบนี้สำหรับคนปกติที่เดินเท้าก็ยังยากที่จะเดิน หรือต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการลื่นล้ม หรือเปื้อน แต่คนที่ใช้รถเก้าอี้ล้อเข็นไม่ว่าจะเป็นแบบปกติหรือแบบไฟฟ้าก็พบเจอกับความ ยากลำบากมากกว่าในการข้ามผ่านพื้นผิวเหล่านี้

ด้วย เหตุนี้จึงเป็นแนวคิดให้ทีมนักวิจัยนำเอาระบบตรวจสอบและประมวลผลสภาพพื้นผิว ในการเคลื่อนที่ไปของหุ่นยนต์ที่ใช้ทำงานในการทางการทหารมาประยุกต์ใช้ใน ระบบควบคุมการทำงานของรถเก้าอี้ล้อเข็นไฟฟ้าให้สามารถประมวลผลว่าพื้นผิวที่ จะเคลื่อนที่ผ่านมีลักษณะเป็นอย่างไร และยังมีส่วนปุ่มควบคุมการทำงานที่ให้ผู้ใช้เลือกใช้ให้เหมาะสมในสถานการณ์ เฉพาะหน้าอีกด้วย เพื่อเหตุผลทางด้านความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการใช้ง่ายของผู้ป่วย คนชรา ผู้พิการที่ไม่สามารถเดินได้และต้องอาศัยรถเก้าอี้ล้อเข็นไฟฟ้า

ระบบ ตรวจสอบที่ทางหุ่นยนต์ทางการทหารใช้ในการวิเคราะห์ตรวจสอบสภาพพื้นผิวที่จะ เคลื่อนที่ผ่านใช้การทำงานของเส้นแสงเลเซอร์เป็นตัวตรวจสอบสถาพพื้นผิว จากนั้นจะมีการส่งข้อมูลไปยังส่วนวิเคราะห์ ประมวลผลและส่งผ่านคำสั่งควบคุมการเคลื่อนไหวไปยังหุ่นยนต์เพื่อทำการ เคลื่อนที่ผ่านพื้นผิวแต่ละแบบด้วยลักษณะที่เหมาะสม ซึ่งการทำงานทั้งหมดเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติและสามารถควบคุม ตัดสินใจได้ด้วยระบบการทำงานของหุ่นยนต์เอง

การ พัฒนาและข้อมูลทางหุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการทหารได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี จากทางหน่วยงานด้านทหารของสหรัฐอเมริกา และในส่วนอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเงินทุน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาขาเฉพาะต่างๆที่เกี่ยวข้องก็ได้รับความร่วมมือจาก หน่วยงานหลายแห่ง และคาดหวังว่าเทคโนโลยีที่พัฒนามานั้นจะเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยให้การใช้ งานรถเก้าอี้ล้อเข็นไฟฟ้าสะดวกและปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญผู้ใช้จะสามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยอาศัยการเฝ้า ดูแลจากผู้อื่น ซึ่งทางทีมนักวิจัยคาดหวังที่จะพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้เสร็จสิ้นภายในห้าปี ข้างหน้า

ที่มา
Florida State University Website
http://www.physorg.com/news/2011-01-electric-sheelchair-users-easily.html



โดย
ธนัช

หุ่นยนต์เด็กเสิร์ฟ

“หุ่นยนต์เด็กเสิร์ฟ” บริการจากใจ งานวิจัย มกท




นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (มกท) โดยนักศึกษาในโครงงานการพัฒนาหุ่นยนต์บริการ ที่ผลักดันให้มีโอกาสนำมาวิจัยพัฒนาต่อยอด จนเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆของหุ่นยนต์ฝีมือนักศึกษาไทยที่นำมาใช้งานในชีวิต ประจำวันได้จริงในร้านสุกี้ชื่อดัง      
       เจ้าของผลงานหุ่นยนต์บริการ เป็นนักศึกษาชั้นปี 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ คุปต์ ศรีสุวรรณ์ , เอกสกุล จันทร์สุริยะ, โกวิท แก้วอ่ำ , พิชัย สุวรรณเลิศ , ชรัส หลักเงินชัย , พิรุณ ผานิชผล และ ชาญ ศิลป์ เดชรักษา โดยมี อ.อัคร พงษ์ เอกศิริ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
      
       อ.อัครพงษ์ กล่าวว่า เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปลายปี 51 โดยการนำหุ่นยนต์ไปปฏิบัติใช้งานในร้านได้จริง โดยทำขึ้นมา 2 ตัว เป็นหุ่นยนต์ รับออเดอร์อาหาร ชื่อ "ออเดอร์ 1" กับ "ออเดอร์ 2"
      
       “หุ่นมีความสามารถด้านการรับ ออเดอร์ ใช้งานได้จริง ตัวล่าสุดที่นำมาใช้อยู่ในขณะนี้มีชื่อว่า "เซิร์ฟ 1" ตัวนี้มีส่วนประกอบด้านหัว แขน และถาดรับอาหาร พร้อมมีความสามารถโชว์ลูกเล่นกับลูกค้า สื่อสารโต้ตอบได้ 4 ภาษา ได้แก่ ไทย จีน อังกฤษ ญี่ปุ่น ใช้งบประมาณ 4 แสนบาท อยู่ที่ร้านสุกี้ที่เซ็นทรัลพระราม 3 และยังมีภารกิจอื่นๆอีก เช่น การระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ผ่านมา”      
       ทั้งนี้ การพัฒนาล่าสุด หุ่นยนต์เสิร์ฟรับน้ำหนักได้ถึง 3 กิโลกรัม เสิร์ฟเป็ดจานใหญ่ 2 จาน หรือบะหมี่หยก 2 จาน หรือติ่มซำ 2 เข่งมาพร้อมกันได้สบายๆ และยังทำงานได้ในระยะเวลาที่ต่อเนื่องพอสมควร
      
       “คุปต์” ตัวแทนกลุ่มเผยว่า ใช้ศาสตร์วิชาความรู้ที่เรียนมา ทั้งวิชาอิเล็กทรอนิกส์ , ไฟฟ้า ประกอบออกแบบวงจร, มัลติมีเดีย การเชื่อมต่อทางกราฟฟิกกับผู้ใช้งาน , การเขียนโปรแกรมควบคุมสั่งการ ยังรวมถึงภาควิชาศิลปกรรม ที่มาช่วยออกแบบรูปลักษณ์หน้าตา
      
       “วัตถุประสงค์ของหุ่น 2 ตัวแรก ไม่ใช่ว่ามาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ แต่เพื่อเพิ่มสีสันภายในร้าน ขณะที่พนักงานเสิร์ฟที่เป็นมนุษย์ ยังคงทำงานเหมือนเดิม โดยความยากง่ายหุ่นยนต์ของเราทั้ง 3 ตัว จะเป็นการนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาใช้ ซึ่งมีความเสถียรสูง ปลอดไวรัส การบำรุงรักษาไม่ยุ่งยาก โดยซอฟต์แวร์นี้ใครจะเอามาใช้งาน พัฒนาก็ได้ เพราะใช้ฟรี และเรากล้าพูดว่าเราเป็นเจ้าแรกที่นำมาใช้พัฒนาระบบปฏิบัติการใน การควบคุมหุ่นยนต์ทั้งตัว”      
       อ.อัครพงษ์ เสริมอีกว่า ส่วนมากต้องซื้ออะไหล่จากต่างประเทศ เช่น มอเตอร์ ที่ทำให้หุ่นยนต์ขยับเคลื่อนไหว แต่หากต้นทุนถูกลงก็สามารถที่จะใส่ลักษณะเด่นจำเพาะได้มากกว่า ซึ่งหุ่นยนต์ไทยฝีมือนักศึกษาจะใส่เฉพาะส่วนที่นำมาใช้งานหลักๆ อย่างรับออเดอร์ก็ทำเฉพาะรับออเดอร์ให้ได้ หุ่นยนต์เสิร์ฟก็ทำให้เสิร์ฟให้ได้ ส่วนอื่นที่เป็นลักษณะรองลงมาก็ค่อยพัฒนาเพิ่มขึ้นภายหลัง
      
       “ปีหน้าที่คิดกันไว้ จะเป็นการรวมออเดอร์กับเซิร์ฟเข้าเป็นตัวเดียวกัน โดยรุ่นใหม่จะเป็นเด็กเสิร์ฟเต็มตัว ทั้งเสิร์ฟ รับออเดอร์ได้ด้วย ซึ่งในอนาคต งานบริการอย่าง งานโรงแรม การท่องเที่ยว โรงพยาบาล อาจนำไปใช้ประโยชน์ได้ และผมเชื่อว่าคนไทยมีความคิดสร้างสรรค์ไม่แพ้ใคร" อ.อัคร พงษ์ กล่าวทิ้งท้าย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ผู้จัดการออนไลน์ 

โซดาดึง 2010

โซดาดึง 2010...นวัตกรรมใหม่ช่วยวัดตะกอนในถังพักน้ำ เพื่อจะบอกคุณว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องล้างถังพักน้ำเสียที
 
ฝ่ายสื่อสารองค์กร การประปานครหลวง
 
คุณ เคยคิดหรือไม่ว่า เราควรล้างถังพักน้ำ หรือบ่อพักน้ำเมื่อไร? เลือกปฏิบัติตามข้อแนะนำ ที่ให้หมั่นล้างทุก 6 เดือน หรือว่าปล่อยปละละเลยจนเป็นปีๆหรือนับ 10 ปี ไม่สนใจว่าน้ำในถังพักน้ำจะเป็นเช่นไร โดยเฉพาะใน สถานที่ราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงานใหญ่ๆ ฯลฯ ที่นอกจากจะตรวจสอบได้ยาก เนื่องจากถังพักน้ำมีขนาดใหญ่แล้ว หากจะต้องล้างถังพักน้ำ ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องหยุดการใช้น้ำชั่วคราว ดังนั้นการล้างถังพักน้ำจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาแล้วว่ามีความคุ้มและจำ เป็นจริงๆ แต่จะมีสิ่งใดที่บอกได้ว่าถึงเวลาแล้วที่คุณต้องล้างถังพักน้ำ เรื่องเหล่านี้ การประปานครหลวง (กปน.)สามารถบอกคุณได้ เพราะสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของวิศวกร กปน. คุณวชิรวิทย์ โพธิ์วิจิตร หัวหน้าส่วนสำรวจและออกแบบ กองบำรุงรักษา สำนักงานประปาสาขาลาดพร้าว ที่เรียกว่า"โซดาดึง 2010” อุปกรณ์เก็บตะกอนในถังพักน้ำ เครื่องมือที่จะบอกให้รู้ว่าถึงเวลาที่ควรจะต้องล้างถังพักน้ำได้แล้ว
 
แรงบันดาลใจในการจัดทำอุปกรณ์
เนื่อง จากปัจจุบัน กปน. มีบริการให้คำแนะการใช้น้ำและบริการบำรุงรักษาระบบประปาภายในให้แก่ลูกค้า ทั้งรายเล็กรายใหญ่ ซึ่งได้แก่ ท่อ ปั๊ม และถังพักน้ำ โดย 2 เรื่องแรก ทีมงานสามารถตอบคำถามลูกค้าโดยสังเกตจากลักษณะภายนอกของอุปกรณ์หรือสถิติการ ซ่อม รวมทั้งมีเครื่องมือตรวจสอบได้ แต่งานเกี่ยวกับถังพักน้ำที่ขาดการบำรุงรักษามาเป็นระยะเวลานาน จนมีสิ่งแปลกปลอมสะสมอยู่บริเวณก้นถังนั้น ไม่สามารถบอกได้ ซึ่งกว่า 70 % ของลูกค้ามักถามว่า กปน. มีเครื่องมือตรวจสอบหรือไม่
  
จาก คำถามนี้เองทีมงานจึงคิดว่าจะต้องจัดหาหรือซื้อเครื่องมือ ตรวจสอบน้ำในระดับก้นถัง เพื่อให้ลูกค้าเชื่อมั่น ดีกว่าไปนำเสนอโดยไม่มีข้อมูลประกอบ โครงงานนี้เลยเกิดขึ้น ขั้นแรกค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือเก็บดินตะกอนที่มีอยู่ในโลก โดยศึกษาหลักการทำงาน และวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม จากนั้นจึงทำการศึกษาตะกอนที่อยู่ในน้ำ และพบว่าตะกอนที่สะสมอยู่ในถังพักน้ำส่วนใหญ่ เป็นตะกอนที่มีอนุภาคเล็กกว่า 0.002 มม. มาก มีลักษณะเป็นแผ่นเล็กๆ ลอยปะปนอยู่ในน้ำ
 
เริ่มศึกษาการประดิษฐ์เครื่องมือตรวจเก็บน้ำ
จาก นั้นทีมงานจึงมาศึกษาและคิดหาทางประดิษฐ์เครื่องมือนี้เอง โดยคิดกันว่าจะเก็บน้ำและตะกอนในระดับก้นถังได้อย่างไร มีการลองผิดลองถูก ลงทุนซื้ออุปกรณ์มาประดิษฐ์ และพัฒนาหัวเก็บน้ำและตะกอนเพื่อให้ทนทานเหมาะกับงานภาคสนาม ที่ไม่ต้องบำรุงรักษาบ่อยนัก หลังจากใช้เวลาคิดค้นอยู่ครึ่งปีจึงได้อุปกรณ์ต้นแบบเมื่อเดือนเมษายน 2553 ที่ผ่านมา โดยให้ชื่อว่า "โซดาดึง 2010” ซึ่งทีมงานได้ดำเนินการขอจดสิทธิบัตรกับกระทรวงพาณิชย์ไว้เรียบร้อยแล้ว
  
อุปกรณ์ "โซดาดึง 2010” นี้ใช้หลักการน้ำไหลเข้าไปแทนที่อากาศ ในลักษณะเก็บอากาศอยู่ภายในกระบอกเก็บอากาศก่อน เมื่อปล่อยอุปกรณ์ลงไปถึงก้นถัง จึงปล่อยให้อากาศภายในกระบอกเก็บอากาศออกมา หลังจากนั้นตัวอย่างน้ำและตะกอนที่ระดับก้นถังก็จะถูกดูดเข้าไปในกระบอกเก็บ อากาศ โดยปลายกระบอกจะมีกลไกกันไม่ให้น้ำและสิ่งแปลกปลอมไหลออก ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการเดียวกันกับพิโซมิเตอร์ (Piezometer)
 
ทำไมถึงตั้งชื่อว่า โซดาดึง 2010?
โซดา ดึง หมายถึงก๊อกน้ำสาธารณะแบบโบราณ สมัยรัชกาลที่ 5 เวลาจะใช้น้ำก็ต้องดึงคันโยกเพื่อให้น้ำไหลออกมา เหตุนี้จึงเรียกกันอย่างล้อเล่นในหมู่คนกินเหล้าสมัยก่อนว่า โซดาดึง จะเห็นได้ว่าคำคำนี้อยู่คู่กับการประปาหลวงมานานและทางทีมงานอยากให้คำคำนี้ อยู่กับ กปน. ตลอดไป ประกอบกับลักษณะการใช้อุปกรณ์ ต้องดึงขึ้นมาจากถังพักน้ำ จึงเป็นที่มาของชื่อนี้
 
จน ถึงขณะนี้คิดว่าหลักการที่เป็นกลไกในการทำงานของโซดาดึง 2010 เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดแล้ว ถ้าเทียบกับเป้าหมายหลักเพื่อให้ลูกค้าสนใจโครงการ ซึ่งต่อไปคงจะพัฒนารูปแบบภายนอกมากกว่า เพื่อให้ดูมีคุณค่าและน่าสนใจยิ่งขึ้น และตอนนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้รับงานประดิษชิ้นนี้ไว้พิจารณาเพื่อจดสิทธิบัตร ตามเลขที่คำขอ 1003000341 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 แล้ว ที่ต้องทำเรื่องจดสิทธิบัตรก่อน เนื่องจากเวลาไปตรวจน้ำตามสถานที่ต่างๆ เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้จะได้รับความสนใจมาก และหน่วยงานเหล่านั้น จะขอให้จัดทำเพื่อที่จะตรวจน้ำได้เอง ทีมงานเลยขอสงวนสิทธิไว้ก่อน
 
และ จากการที่นำอุปกรณ์นี้ไปเก็บตะกอนก้นถังพักน้ำให้กับสถานที่หลายแห่ง ทำให้เจ้าของกิจการและสถานที่เหล่านั้นต้องตกใจกับภาพที่เห็น พร้อมรีบดำเนินการล้างพักน้ำอย่างเร่งด่วน ซึ่งสามารถทำได้เองหรือจะเรียกใช้บริการของ กปน. ก็ได้เช่นกัน
 
และ นี่ คืออีกหนึ่งนวัตกรรม ที่คิดค้นจากมันสมองสองมือ ของพนักงานการประปานครหลวงที่ช่วยกันประดิษฐ์ "โซดาดึง 2010” อุปกรณ์ตรวจวัดระดับตะกอนในถังพักน้ำ น่าจะเป็นอีกหนึ่งผลงานที่เรียกความน่าเชื่อถือและเชื่อมั่นจากผู้ใช้น้ำได้ ดีทีเดียว

เทคโนโลยี RFID

227422

เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identity) เทคโนโลยีฉลากอัจฉริยะ ที่มีลักษณะการทำงานเหมือนคล้ายกับระบบบาร์โค้ด เป็นระบบที่นำเอาคลื่นวิทยุมาเป็นคลื่นพาหะเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิดที่เรียกว่า แท็ก (Tag) และตัวอ่านข้อมูล (Reader หรือ Interrogator) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) จะได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันการปลอมแปลงสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า หรือสินค้าอื่นๆ
Christtian von Grone พนักงานบริษัทผลิตเสื้อผ้ายี่ห้อชั้นนำได้ระบุถึงแผนการของบริษัทที่จะนำเอาเทคโนโลยี RFID มา ประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบสินค้าแต่ละชิ้น เพื่อระบุว่าเป็นสินค้าที่ผลิตตามที่บริษัทต้องการ ไม่ได้ถูกปลอมแปลงหรือแอบอ้างยี่ห้อไปจัดจำหน่ายเอง แต่ก่อนการผลิตเสื้อผ้าจะมีการจ้างโรงงานเพื่อช่วยในด้านการผลิต ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าถ้าบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์สั่งผลิตไปหนึ่งพันตัว ทางโรงงานบางโรงงานก็อาจจะผลิตมากกว่าหนึ่งพันตัวเพื่อเอาไปจำหน่ายเอง ภายใต้ชื่อยี่ห้อนั้นๆ ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ละเมิดลิขสิทธิ์และผิดกฎหมาย ดังนั้นทางบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีแนวคิดที่จะนำเอาเทคโนโลยี RFID มาใช้แก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง

ป้าย ระบุตัวเลขประจำตัวของสินค้าแต่ละชิ้นจะถูกจัดส่งจากบริษัทแม่ไปยังผู้ผลิต แต่ละราย ยกตัวอย่างเช่นบริษัทต้องการผลิตเสื้อจำนวนหนึ่งพันตัว รายการสั่งสินค้าจะส่งไปยังโรงงานรับผลิตพร้อมทั้งป้ายระบุสินค้า RFID ที่ สามารถสแกนและอ่านค่าด้วยเครื่องอ่านสัญญาณวิทยุ ป้ายประจำตัวของสินค้าแต่ละชิ้นจะมีข้อมูลเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของบริษัท สินค้าที่มีการติดป้าย RFID และข้อมูลบนป้ายตรงกับสิ่งที่เก็บในฐานข้อมูลถือว่าเป็นสินค้าที่ถูกลิขสิทธิ์

ป้าย RFID ได้ถูกออกแบบให้มีขนาดที่เล็กและสามารถแนบกับป้ายแนะนำการดูแลเสิ้อผ้าและสินค้าได้ ราคาต้นทุนของป้ายแต่ละชิ้นจะอยู่ที่ 9 เซนต์ ในส่วนของร้านขายสินค้า การใช้เทคโนโลยีนี้จะทำให้ผู้ซื้อมีความมั่นใจมากขึ้นว่าสินค้าที่ซื้อไม่ ใช่ของปลอม ทางร้านขายก็ต้องมีเครื่องสแกนสำหรับอ่านข้อมูลป้าย RFID ที่สามารถแสดงให้เห็นว่าเป็นป้ายที่ออกมาโดยเจ้าของบริษัทลิขสิทธิ์สินค้า

ยกตัวอย่างในอุตสาหกรรมสิ่งทอ บริษัท Gerry Weber มีจำนวนโรงงานผู้รับผลิตสินค้าตาคำสั่งกว่า 240  แห่งทั่วโลก มีปริมาณการสั่งซื้อและผลิตกว่า 26 ล้านชิ้นต่อปี ทางบริษัทเชื่อว่ามีโรงงานกว่า 5-10แห่งที่แอบผลิตสินค้าออกนำไปขายเอง การนำเอาเทคโนโลยี RFID มาใช้งานจะทำให้ผู้รับผลิตสินค้าไม่สามารถแอบผลิตสินค้านอกเหนือคำสั่งซื้อ

ที่มา
http://www.bbc.co.uk/news/business-12358919

โดย
ธนัช

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้าวเย็บแผล

นวัตกรรมทางการแพทย์แห่งโลกอนาคต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



          ทีมวิจัย มช. คิดค้น ”ข้าวเย็บแผล” ซึ่งเป็นเส้นใยสำหรับเย็บแผลจากแป้งข้าวเจ้าชนิดย่อยสลายได้ด้วยวิธีการตาม ธรรมชาติ เพิ่มคุณสมบัติแรงดึงยืด ความทนทานน้ำ ด้วยผงนาโนคาร์บอนจากกะลามะพร้าว ให้เส้นใยสีดำเพื่อช่วยให้ศัลยแพทย์แยกแยะออกได้ง่ายเมื่อปะปนกับเลือดภายใน เนื้อเยื่อระหว่างผ่าตัด หวังสร้างผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยทรัพยากรข้าวของไทย โดยฝีมือคนไทย เพื่อประชาชนไทย 
           
          รศ.นพ.สิทธิพร  บุณยนิตย์ หัวหน้าโครงการวิจัย “วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า” (Absorbable Suture Made From Rice Starch) จากภาควิชาศัลยศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ และหน่วยวิจัยชีววัสดุและเครื่องมือแพทย์  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ข้าว  คือจิตวิญญาณของคนไทย  ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ผู้ผลิตข้าวอันดับหนึ่งของโลก  แต่ประเทศไทยก็มักจะเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกอยู่เสมอมา  ส่วนใหญ่ไทยส่งออกข้าวในรูปข้าวสารซึ่งมีราคาต่ำที่สุดของห่วงโซ่มูลค่า  วิธีการหนึ่งที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทยคือการปรุงแต่งข้าวให้เป็น ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะวัสดุทางการแพทย์ที่มีราคาสูง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชั้นสูงที่ประเทศไทยต้องนำเข้าเป็นส่วนใหญ่   ในปี 2550 ประเทศไทยนำเข้าเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นจำนวนเงินประมาณ 90,000 ล้านบาท  ไม่นับรวมเวชภัณฑ์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม  อีกกว่า 60,000 ล้านบาท 
คณะผู้วิจัยมีเป้าประสงค์เพื่อ สร้างผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขึ้นเองในประเทศ  สำหรับประชาชนชาวไทย  โดยการใช้เทคโนโลยีต้นทุนต่ำ  ด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลักของประเทศไทย  และคาดหวังที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถจดสิทธิบัตรได้
           

          ทีมวิจัยจึงได้คิดค้น ”ข้าวเย็บแผล” หรือ วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้าขึ้น โดยเป็นวัสดุเย็บแผลแบบเส้นใยเดี่ยว ที่ได้ปรับปรุงสมบัติเชิงกลของแผ่นฟิล์มโพลิเมอร์แป้งข้าวเจ้าให้ดีขึ้นจาก การผสมสารตัวช่วย ได้แก่ เจลาติน คาร์บอกซีเมทธิลเซลลูโลส  และผงคาร์บอนขนาดนาโนเมตร  โดยคณะผู้วิจัยได้พัฒนาวิธีบดโม่แบบสั่นสะเทือนเพื่อผลิตผงนาโนคาร์บอนจาก กะลามะพร้าว ทำให้ได้ผงนาโนคาร์บอนปริมาณมากต่อครั้งด้วยราคาไม่แพงและมี ความบริสุทธิ์สูง จากการทดสอบความแกร่งทางแรงดึง แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการเติมผงนาโนคาร์บอนสามารถช่วยปรับปรุงสมรรถภาพความทน ทานน้ำและความแกร่งให้กับแผ่นฟิล์มโพลิเมอร์แป้งข้าว ซึ่งพบว่าเส้นใยเย็บแผลจากแป้งข้าวเจ้าที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มม. สามารถยกขวดบรรจุน้ำหนักมากกว่า 400 กรัม นอกจากนั้นสีดำของผงนาโนคาร์บอนยังช่วยให้ศัลยแพทย์สังเกตแยกแยะออกได้ง่าย เมื่อต้องปะปนกับเลือดภายในเนื้อเยื่อระหว่างผ่าตัดอีกด้วย

           

          สำหรับขั้นตอนการประดิษฐ์เป็นวิธีที่เรียบง่าย ได้แก่ การผสมวัตถุดิบในน้ำ ร้อนแล้วอบแห้งในเตาไฟฟ้า  ผลิตภัณฑ์สุดท้ายจะถูกตรวจวิเคราะห์สมบัติเชิง เคมีฟิสิกส์  การจับถือ  และชีววิทยา  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  ข้าวเย็บแผลมีสมบัติที่เหมาะสมจะเป็นวัสดุเย็บแผล  กล่าวคือ  สามารถคงรูปเมื่ออยู่ในน้ำ มีค่าแรงดึงยืดขนาดสูงข้าวเย็บแผลยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
เนื่อง จากผลิตจากวัสดุที่ไม่เป็นพิษด้วยวิธีการที่ไม่สลับซับซ้อน จึงสามารถถูกย่อยสลายได้ง่ายด้วยวิธีการตามธรรมชาติและไม่มีผลข้างเคียงชนิด ร้ายแรง
        

          รศ.นพ.สิทธิพร  บุณยนิตย์  กล่าวเพิ่มเติมถึง แผนงานในอนาคตว่า ขั้นตอนต่อไปของการประดิษฐ์คือ  การบีบอัดและฉีดให้เป็นเส้นใย  การติดเข็มเย็บ  การทดสอบความเข้ากันได้ในสิ่งมีชีวิตและการใช้งานจริงทางสัตว์ทดลองและทาง คลินิก ซึ่งคาดว่าหากโครงการวิจัย “วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า” สามารถนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลายในอนาคตจะส่งผลดีทั้งต่อวงการวิทยาศาสตร์ วงการแพทย์  ตลอดจนการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย โดยในทางวิทยาศาสตร์นั้น จะก่อให้เกิดนวัตกรรมชีววัสดุ เป็นการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีการประดิษฐ์ที่มีต้นทุนต่ำ และเกิดการปฏิรูปงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย สำหรับในทางการแพทย์ วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า นับเป็นการพัฒนาวัสดุเย็บแผลชนิดใหม่ที่มีราคาถูก เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเกิดการจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของไทย ในด้านของผลดีทางเศรษฐกิจนั้น  นับ ว่าผลงานวิจัยชั้นนี้ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวเจ้าไทย ให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของประเทศไทย  จากฝีมือนักวิจัยไทย เพื่อช่วยลดการนำเข้า ตลอดจนช่วยส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยในอนาคต  
          และนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ผลงานวิจัย “วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า” นี้ ได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัลชนะเลิศการประกวดบทความทางการแพทย์ ในหัวข้อนวัตกรรมใหม่ของไหมเย็บแผลแห่งโลกอนาคตระดับประเทศ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551  ซึ่งจัดโดยบริษัทบี.บราวน์ (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าไปประกวดระดับนานาชาติ ในหัวข้อ “The Future of Sutures” (FUSU) ณ สำนักงานใหญ่ของ Aesculap Academy กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนีต่อไป

          นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้วิจัยพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับข้าวเจ้าอีกหลายผล งาน  อาทิ  ก้อนพรุนแบบอ่อนนุ่มสำหรับใช้ทดแทนกระดูกมนุษย์ผลิตจากข้าวเจ้าผสมกระดูกวัว แผ่นไฮโดรเจลที่มีฤทธิ์กรดผลิตจากข้าวเจ้าสำหรับห้ามเลือดในงานผ่าตัด  แผ่นฟองข้าวเจ้าที่อุ้มน้ำได้ปริมาณมากสำหรับใช้ห้ามเลือดในงานผ่าตัด  ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญทอง ในสาขาสุขภาพ จากโครงการประกวดผลงานสิทธิบัตรการประดิษฐ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ “ราชันแห่งปัญญา พัฒนาไทยให้ยั่งยืน  ซึ่งจัดโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมาด้วย.


---------------------------------------------------------------------------------------
ทีมวิจัย “วัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า”
จากหน่วยวิจัยชีววัสดุและเครื่องมือแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รศ.นพ.สิทธิพร  บุณยนิตย์ หัวหน้าโครงการวิจัย (คนกลาง)
นายอนุชา รักสันติ
นายอนิรุทธิ์ รักสุจริต
นายรังสฤษฏิ์ คุณวุฒิ
นางสาวพันธุ์ทิพย์ นนทรี



*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและแหล่งข้อมูลทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554