วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หุ่นยนต์เด็กเสิร์ฟ

“หุ่นยนต์เด็กเสิร์ฟ” บริการจากใจ งานวิจัย มกท




นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (มกท) โดยนักศึกษาในโครงงานการพัฒนาหุ่นยนต์บริการ ที่ผลักดันให้มีโอกาสนำมาวิจัยพัฒนาต่อยอด จนเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆของหุ่นยนต์ฝีมือนักศึกษาไทยที่นำมาใช้งานในชีวิต ประจำวันได้จริงในร้านสุกี้ชื่อดัง      
       เจ้าของผลงานหุ่นยนต์บริการ เป็นนักศึกษาชั้นปี 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ คุปต์ ศรีสุวรรณ์ , เอกสกุล จันทร์สุริยะ, โกวิท แก้วอ่ำ , พิชัย สุวรรณเลิศ , ชรัส หลักเงินชัย , พิรุณ ผานิชผล และ ชาญ ศิลป์ เดชรักษา โดยมี อ.อัคร พงษ์ เอกศิริ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
      
       อ.อัครพงษ์ กล่าวว่า เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปลายปี 51 โดยการนำหุ่นยนต์ไปปฏิบัติใช้งานในร้านได้จริง โดยทำขึ้นมา 2 ตัว เป็นหุ่นยนต์ รับออเดอร์อาหาร ชื่อ "ออเดอร์ 1" กับ "ออเดอร์ 2"
      
       “หุ่นมีความสามารถด้านการรับ ออเดอร์ ใช้งานได้จริง ตัวล่าสุดที่นำมาใช้อยู่ในขณะนี้มีชื่อว่า "เซิร์ฟ 1" ตัวนี้มีส่วนประกอบด้านหัว แขน และถาดรับอาหาร พร้อมมีความสามารถโชว์ลูกเล่นกับลูกค้า สื่อสารโต้ตอบได้ 4 ภาษา ได้แก่ ไทย จีน อังกฤษ ญี่ปุ่น ใช้งบประมาณ 4 แสนบาท อยู่ที่ร้านสุกี้ที่เซ็นทรัลพระราม 3 และยังมีภารกิจอื่นๆอีก เช่น การระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ผ่านมา”      
       ทั้งนี้ การพัฒนาล่าสุด หุ่นยนต์เสิร์ฟรับน้ำหนักได้ถึง 3 กิโลกรัม เสิร์ฟเป็ดจานใหญ่ 2 จาน หรือบะหมี่หยก 2 จาน หรือติ่มซำ 2 เข่งมาพร้อมกันได้สบายๆ และยังทำงานได้ในระยะเวลาที่ต่อเนื่องพอสมควร
      
       “คุปต์” ตัวแทนกลุ่มเผยว่า ใช้ศาสตร์วิชาความรู้ที่เรียนมา ทั้งวิชาอิเล็กทรอนิกส์ , ไฟฟ้า ประกอบออกแบบวงจร, มัลติมีเดีย การเชื่อมต่อทางกราฟฟิกกับผู้ใช้งาน , การเขียนโปรแกรมควบคุมสั่งการ ยังรวมถึงภาควิชาศิลปกรรม ที่มาช่วยออกแบบรูปลักษณ์หน้าตา
      
       “วัตถุประสงค์ของหุ่น 2 ตัวแรก ไม่ใช่ว่ามาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ แต่เพื่อเพิ่มสีสันภายในร้าน ขณะที่พนักงานเสิร์ฟที่เป็นมนุษย์ ยังคงทำงานเหมือนเดิม โดยความยากง่ายหุ่นยนต์ของเราทั้ง 3 ตัว จะเป็นการนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาใช้ ซึ่งมีความเสถียรสูง ปลอดไวรัส การบำรุงรักษาไม่ยุ่งยาก โดยซอฟต์แวร์นี้ใครจะเอามาใช้งาน พัฒนาก็ได้ เพราะใช้ฟรี และเรากล้าพูดว่าเราเป็นเจ้าแรกที่นำมาใช้พัฒนาระบบปฏิบัติการใน การควบคุมหุ่นยนต์ทั้งตัว”      
       อ.อัครพงษ์ เสริมอีกว่า ส่วนมากต้องซื้ออะไหล่จากต่างประเทศ เช่น มอเตอร์ ที่ทำให้หุ่นยนต์ขยับเคลื่อนไหว แต่หากต้นทุนถูกลงก็สามารถที่จะใส่ลักษณะเด่นจำเพาะได้มากกว่า ซึ่งหุ่นยนต์ไทยฝีมือนักศึกษาจะใส่เฉพาะส่วนที่นำมาใช้งานหลักๆ อย่างรับออเดอร์ก็ทำเฉพาะรับออเดอร์ให้ได้ หุ่นยนต์เสิร์ฟก็ทำให้เสิร์ฟให้ได้ ส่วนอื่นที่เป็นลักษณะรองลงมาก็ค่อยพัฒนาเพิ่มขึ้นภายหลัง
      
       “ปีหน้าที่คิดกันไว้ จะเป็นการรวมออเดอร์กับเซิร์ฟเข้าเป็นตัวเดียวกัน โดยรุ่นใหม่จะเป็นเด็กเสิร์ฟเต็มตัว ทั้งเสิร์ฟ รับออเดอร์ได้ด้วย ซึ่งในอนาคต งานบริการอย่าง งานโรงแรม การท่องเที่ยว โรงพยาบาล อาจนำไปใช้ประโยชน์ได้ และผมเชื่อว่าคนไทยมีความคิดสร้างสรรค์ไม่แพ้ใคร" อ.อัคร พงษ์ กล่าวทิ้งท้าย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ผู้จัดการออนไลน์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น